Get Adobe Flash player

กัณฑ์ ๒ หิมพานต์ 

 
ที่มา http://www.oknation.net

สาระน่ารู้สู่ผู้สดับ

กัณฑ์หิมพานต์ ประดับด้วยคาถา ๑๓๔ พระคาถา
เป็นพระนิพนธ์ใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
วัดพระเชตุพนวิมลสังคลาราม กรุงเทพมหานคร

เพลงประจำกัณฑ์ คือ เพลง “ตวงพระธาตุ”
ประกอบกิริยาอวยทานของพระเวสสันดรที่ทรงบริจาคทาน

ข้อคิดจากกัณฑ์

การทำความดี มักมีอุปสรรค

เนื้อความโดยย่อ

เทพธิดา “ผุสดี” พระอัครมเหสีแห่พระอินทรเทพ
ทรงจุติจากสวรรค์ลงมาถือกำเนิดเป็นพระธิดากษัตริย์มัททราช
มีพระนาม “ผุสดี” ดังทศพรประการที่ ๔ ที่ทรงขอไว้

ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชยแห่งกรุงสีพี
เมื่อมีพระโอรสนามว่า “พระเวสสันดร”
ด้วยทรงประสูติในตรอกพ่อค้า
ก็ทรงได้สมพระปรารถนาในทศพรประการที่ ๕

ด้วยพระกุมารเวสสันดรนั้น
ทันที่ประสูติจากพระครรภ์ ก็ทรงทูลขอทรัพย์บริจาคทันที
และเมื่อทรงขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา
ก็ทรงสร้างทานศาลาขึ้น ๖ แห่ง สำหรับบริจาคทานแก่ผู้ยากไร้โดยถ้วนหน้า

ในวันที่ พระเวสสันดร ประสูตินั้น
ทรงได้ช้างเผือกขาวบริสุทธิ์
ที่แม่ช้างชาติฉัททันต์นำมาถวายไว้ในโรงช้าง
ชาวสีพีขนานนามช้างว่า “ปัจจัยนาเคนทร์”
ด้วยเป็นช้างมงคลที่แม้ขับขี่ไปในที่ใด
ก็จะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

กาลต่อมา เมื่อเมืองกลิงคราษฎร์ เกิดข้าวยากหมากแพง
ด้วยฝนฟ้าแล้งมิตกต้องตามฤดูกาล
พระเจ้ากลิงคราษฎร์มิอาจทรงแก้ไขได้
แม้จะทรงรักษาอุโบสถศีลครบกำหนด ๗ วันแล้วก็ตาม
จนต้องทรงแต่งตั้งพราหมณ์ ๘ คน
ไปทูลขอ ช้างปัจจัยนาเคนทร์ จาก พระเวสสันดร
พระเวสสันดรก็ประทานให้
เป็นเหตุให้ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ
ถึงขั้นกราบทูลพระเจ้ากรุงสญชัยให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากบ้านเมืองไป

พระเวสสันดร แม้จะประทาน ช้างปัจจัยนาเคนทร์
จนต้องถูกเนรเทศก็มิทรงย่อท้อที่จะบำเพ็ญทาน
ยังทรงทูลขอโอกาสบริจาคทานครั้งใหญ่ที่เรียกว่า “สตสดกมหาทาน”

ก่อนที่จะทรงจากไป ทรงให้พระนางมัทรีบริจาคทรัพย์ถวายแด่ผู้ทรงศีล
และให้พระนางทรงอยู่บำรุงรักษาพระโอรสพระธิดา
ทั้งทรงอนุญาตให้อภิเษกสมรสใหม่ได้

แต่พระนางมัทรีขอตามเสด็จไปพร้อมพระโอรสและพระธิดา
และได้ทรงพรรณนาถึงความสวยงามและน่าทัศนาของป่าหิมพานต์ถึง ๒๔ พระคาถา
เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ว่า พระนางเต็มพระทัยโดยเสด็จ
มิได้ทรงเห็นเป็นเรื่องทุกข์ทรมานแต่ประการใด

ตัวละครสะท้อนคุณธรรม

พระเวสสันดร เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ไม่ยึดติดกับอำนาจวาสนา บริบูรณ์ใน พรหมวิหาร ๔ ประการ
ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

Post your comments...